NASA วางแผนเหยียบ ดาวอังคาร ภายในปี 2040

NASA วางแผนเหยียบ ดาวอังคาร ภายในปี 2040

NASA ได้ทำการประกาศถึงแผนดำเนินงานในอนาคตขององค์การ โดยหนึ่งในนั้นก็คือการส่งคนไปเยือน และทำการสำรวจ ดาวอังคาร ภายในปี 2040 (30 มี.ค. 2565) NASA ได้ทำการเปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานที่จะนำเอามนุษย์กลับไปยังท่ามกลางดวงดาว และสำรวจอวกาศ ที่ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐด้วยวงเงิน 26 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2023 เพื่อใช้งานภายในโครงการสำรวจต่าง ๆ ที่ได้วางไว้

Bill Nelson ผู้บริหารองค์การ NASA ได้ทำการกล่าวแถลงว่า 

“พวกเรามีเป้าหมายที่จะนำเอาสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการใช้ชีวิต และดำเนินงานบนดวงจันทร์ ขยายต่อไปยังระบบสุริยะจักรวาล โดยหนึ่งในแผนงานของเรานั้น ก็คือการส่งผู้คนไปเดินบน ดาวอังคาร ภายในปี 2040” ซึ่งก้าวแรกของการเดินบนดาวอังคารนั้นก็คือ ภารกิจ Artemis moon ที่จะเป็นการส่งผู้หญิง และคนผิวสีรายแรกไปยังดวงจันทร์ เพื่อทำการสร้างฐานตั้งต้น Artemis บนพื้นนผิวดวงจันทร์ เพื่อดำเนินการค้นคว้า และสำรวจเพิ่มเติม รวมไปถึงโคจรของ Gateway สำหรับยานอวกาศ

และภายในปี 2024 เราก็จะได้เห็นนักบินอวกาศกลับขึ้นไปอีกครั้ง ตามมาด้วยการการลงจอดบนดวงจันทร์อีกครั้งภายในปี 2026 เพื่อดำเนินการค้นคว้าต่อไป และเริ่มดำเนินการต่อเนื่องภายในปี 2027 ด้วยความร่วมมือของเอกชน หรือพันธมิตรอื่น ๆ เช่น SpaceX

ในส่วนของงบประมาณนั้น ประมาณ 822 ล้านดอลลาร์ได้ถูกวางไว้สำหรับการนำเอาดินตัวอย่างจากดาวอังคารกลับมาวิจัย, 480 ล้าน เป็นสำหรับการวิจัยหุ่นยนต์ในการสำรวจดาวอังคาร, 500 ล้านดอลลาร์ สำหรับการพัฒนาแผนงานการบินในสภาพแวดล้อมอย่างยั้งยืน (environmentally sustainable aviation strategies) อื่น ๆ ก็จะถูกใช้งานในการวิจัยเพื่อส่งยานอวกาศไปนอกโลก ในเวลานี้ การสำรวจดาวอังคารอยู่ภายใต้การดำเนินงานโดยหุ่นยนต์ เช่น Perseverance Rover และ Ingenuity Helicopter

ชาวเน็ตถึงกับร้องอี๋ หลังมีคลิปของสิ่งที่หลายคนเชื่อว่าเป็น พยาธิปลาหมึก ด้าน อ.เจษฎา ตอบมันคืออวัยวะสืบพันธุ์ของหมึกตัวผู้ เพจ กับข้าวกับปลาโอ Plaocooking ได้โพสต์คลิปวิดีโอพร้อมข้อความถามว่า “มันคือตัวอะไรคับ” ซึ่งจากคลิปแสดงให้เห็นถึงอะไรบางอย่างที่เป็นเส้นๆและย้วยเยี้ยมาจากตัวหมึก ซึ่งเสียงผู้หญิงในคลิปบอกว่าสิ่งที่คือพยาธิหมึก

อย่างไรก็ตาม รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาให้ความรู้ผ่านเพจเฟซบุ๊กระบุว่า “ไอ้เจ้าเส้น ๆ ที่ดุกดิก ๆ อยู่นั้น แท้จริงแล้วมันคืออวัยวะสืบพันธุ์ของหมึกตัวผู้ ที่เรียกว่า สเปิร์มมาโตฟอร์ spermatophore (หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ฝักสเปิร์ม) นั่นเอง”

“ให้นึกถึงเวลาที่เรากิน “ไข่ปลาหมึกทอด” ที่เป็นถุงเป็นก้อนขาวๆ นั้น จะมีทั้งที่เป็นถุงรังไข่ (ovary) ของหมึกตัวเมียและที่เป็นถุงสเปิร์ม (อัณฑะ) ของหมึกตัวผู้ ถ้าเราเอาถุงอัณฑะมาผ่าแยกออก จะเห็นเหมือนท่อยาว ๆ สีขาว จำนวนมาก ซึ่งก็คือ สเปิร์มมาโตฟอร์ เรียงอยู่ข้างในนั้น”

27 ก.ย. ชวนส่อง ดาวพฤหัสบดีโคจรใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี ดูตาเปล่าได้ชัดแจ๋ว

ชวนผู้อ่านชมท้องฟ้ายามราตรีในคืนวันอังคารที่ 27 กันยายน 2565 เพราะ “ดาวพฤหัสบดี” จะโคจรเข้ามาใกล้โลกที่สุดในรอบปี โดยตำแหน่งการโคจรของดาวพฤหัสบดีจะเข้ามาอยู่ในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์พอดี ทำให้เกิดระยะห่างจากโลกถึงดาวพฤหัสบดีประมาณ 591 ล้านกิโลเมตร ถึงแม้ว่าจะมีการรายงานเกี่ยวกับดาวพฤหัสบดีโคจรเข้าใกล้โลกในทุกปี แต่ครั้งนี้ถือว่าเป็นการโคจรใกล้โลกที่สุดของดาวพฤหัสบดีในรอบ 59 ปี นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2506 เลยทีเดียว

เมื่อถึงวันที่ 27 ก.ย. 65 หลังจากที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นที่เรียบร้อย ดาวพฤหัสบดีก็จะปรากฏให้เห็นทางทิศตะวันออก ซึ่งมีความสว่างมากเป็นพิเศษ เพราะอยู่ห่างจากโลกเพียง 591 ล้านกิโลเมตร จนสามารถรับชมดวงดาวได้ด้วยตาเปล่าทุกพื้นที่ในประเทศไทย

หากโชคดีในวันดังกล่าวไม่มีพายุฝนฟ้าคะนอง จนท้องฟ้าสดใส ไร้เมฆมาบดบังก็จะสามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดีที่โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดได้ตลอดทั้งคืนจนถึงเวลารุ่งเช้า

ทั้งนี้การมองดาวพฤหัสบดีผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว และมีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป ด้วยการโคจรเข้าใกล้ของดาวพฤหัสบดีจะทำให้เห็นแถบเมฆบนดาว รวมถึงดวงจันทร์กาลิเลียน บริวารของดาวพฤหัสบดีทั้งหมด 4 ดวงได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต ได้อย่างชัดเจนตลอดทั้งคืน

นอกจากนี้หากผู้อ่านดูดาวพฤหัสบดีในช่วงเวลาประมาณ 21.48 – 00.04 น. จะสามารถเห็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ไอโอเคลื่อนผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี รวมถึงดาวเสาร์ที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนถัดจากดาวพฤหัสบดีในทางทิศตะวันตกได้อีกด้วย

ในวันอังคารที่ 27 กันยายน 2565 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ยังได้จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ชวนผู้สนใจเข้าร่วมส่องกล้องโทรทรรศน์มองแถบเมฆ และดวงจันทร์กาลิเลียนของดาวพฤหัสบดีที่จุดสังเกตการณ์หลักทั้ง 4 พิกัด ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และหอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสงขลา ตั้งแต่เวลา 18.00 – 22.00 น. สามารถชมดาวพฤหัสบดีโคจรใกล้ที่สุดได้ฟรี แบบไม่มีค่าใช้จ่าย

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป